มวยปล้ำ

ปล้ำจับล็อกและซับมิชชัน (Submission) ท่วงท่าที่คว้าชัยชนะในสังเวียนต่อสู้

หลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกับกีฬาการต่อสู้ที่ใช้หมัดต่อย หรือการเตะ แต่ในปัจจุบันนี้มีกีฬาการต่อสู้ที่สามารถใช้เป็นการป้องกันตัวได้ดีเยี่ยมด้วยในสถานการณ์จริงอย่างการซับมิชชัน (Submission) หรือปล้ำจับล็อกให้ฝ่ายตรงข้ามยอมจำนน โดยเฉพาะในการต่อสู้แบบผสมผสานหรือ Mixed Martial Art (MMA) นักกีฬานิยมใช้เป็นอาวุธสำคัญเพื่อพิชิตคู่ต่อสู้และก็ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมากทีเดียว

ปล้ำจับล็อกและซับมิชชันท่วงท่าที่คว้าชัยชนะในสังเวียนต่อสู้ ไม่ใช่อาวุธสำหรับนักกีฬาที่ตัวใหญ่กว่าเท่านั้น แม้แต่นักกีฬาที่มีรูปร่างเล็กก็ยังสามารถปรับใช้ได้ดีและได้ผลมาแล้ว ด้วยเทคนิคและวิธีการอันชาญฉลาดทั้งล็อค หัก และบิดอย่างถูกวิธีจนคู่ต่อสู้ต้องยอมแพ้ เพราะทนความเจ็บปวดไม่ไหว กรรมการต้องยุติการแข่งขันทันที

ทำความรู้จักกับการศิลปะการต่อสู้ปล้ำจับล็อกและซับมิชชัน (Submission)

ปล้ำจับล็อกและซับมิชชัน (Submission) ที่ฟังแล้วอาจจะน่ากลัวและเป็นอันตราย แต่เมื่อถูกกำหนดด้วยกติกาการแข่งขันก็ไม่ถึงขั้นมีอันตรายร้ายแรงในสังเวียนการต่อสู้ ที่นักกีฬานำมาใช้เป็นอาวุธในการเอาชนะคู่ต่อสู้ ในส่วนของท่วงท่าที่ได้รับความนิยมและนำมาใช้ซึ่งมีทั้งการใช้แขน ขาและเท้า คือ

  1. ท่วงท่าที่ผสมผสานมาจากศิลปะการต่อสู้บราซิลเลียนยิวยิตสูกับยูโด เรียกว่า เรียร์ เนกเกด โช้ก (Rear Naked Choke) เป็นการบีบและรัดซอกคอจากด้านหลังของคู่ต่อสู้ เพื่อให้อีกฝ่ายยอมจำนนเพราะหายใจไม่สะดวกและเริ่มจะหน้ามืดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอชั่วขณะหนึ่งจนต้องยกธงขาว ยอมแพ้ในที่สุด ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญเพื่อไม่ให้คู่ต่อสู้ดิ้นหลุดไปได้
  2. อาร์มบาร์ (Armbar) ท่าล็อกนี้อาจจะดูไม่รุนแรงมากนักในสายตาผู้ชม แต่มันคือการฝืนธรรมชาติของสรีระอย่างข้อศอกเป็นอย่างมาก เมื่อต้องถูกบิดไปทิศทางตรงกันข้ามที่ธรรมชาติสร้างมา ค่อนข้างทรมานคู่ต่อสู้มากเช่นกัน จึงทำให้ยอมพ่ายแพ้ได้อย่างง่ายดาย
  3. ไทรแองเกิล โช้ก (Triangle Choke) เป็นท่วงท่าที่ใช้ส่วนขาและเท้ารัดคู่ต่อสู้ ซึ่งต้องอาศัยความแข็งแกร่งของขาเป็นหลัก นักกีฬาที่ทำได้ดีจะสามารถทำให้คู่ต่อสู้สูญเสียการทรงตัว ควบคุมตัวเองได้ยากและเมื่อโดนรัดแน่นขึ้นก็ต้องยอมแพ้ไปในที่สุด

ปล้ำจับล็อกและซับมิชชัน (Submission) มีกติกาที่ควบคุมได้ตลอดการแข่งขัน               

เกมการแข่งขันกีฬาทุกชนิดย่อมต้องมีข้อกำหนดด้วยกฎและกติกาการแข่งขัน มีกรรมการคอยกำกับนักกีฬาทั้งสองฝ่าย เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายร้ายแรงขึ้นได้ เมื่อใดก็ตามที่กรรมการเห็นว่าลักษณะของการแข่งขันอาจเกิดความรุนแรงต่อผู้แข่งขันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สามารถที่จะยุติการแข่งขันได้ทันที และทำการตัดสินแพ้-ชนะตามความเห็นของคณะกรรมการ ซึ่งนักกีฬาที่ดีต้องยอมรับคำตัดสินของกรรมการ แต่ถ้าหากมีข้อกังขาใด ๆ ก็สามารถเรียกร้องให้คณะกรรมการชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงได้เช่นกัน